สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (พ.ศ. ๒๓๒๕ - พ.ศ. ๒๓๕๒)



พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติในปี พ.. ๒๓๒๕ และตั้งกรุงเทพมหานครเป็นราชธานี
.. ๒๓๒๙ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อ เมืองประทายสมันต์เป็น เมืองสุรินทร์ตามสร้อยบรรดาศักดิ์ของเจ้าเมืองตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
ในการเปลี่ยนชื่อเมืองปะทายสมันต์เป็นเมืองสุรินทร์ครั้งนี้ได้โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าเมืองพิมายแบ่งปันอาณาเขตให้เมืองสุรินทร์ ดังนี้
ทิศเหนือ                                 จดลำห้วยพลับพลา
ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ               ติดต่อกับแขวงเมืองรัตนบุรี ตั้งแต่แม่น้ำมูลถึงหลักหินตะวันออกบ้านโพนงอยถึงบ้านโคกหัวลาว และต่อไปยังบ้านโนนเปือย และตามคลองห้วยถึงบ้านนาดี บ้านสัจจังบรรจง ไปทางตะวันออกถึงห้วยทับทัน
ทิศตะวันออก                            จดห้วยทับทัน
ทิศตะวันตก                             ถึงลำห้วยตะโคงหรือชะโกง มีบ้านกก บ้านโคกสูง แนงทม สองชั้น และห้วยราช (ส่วนทางทิศใต้ไม่ได้บอกไว้ เพราะขณะนั้นเมืองเขมรบางส่วนได้อยู่ในความปกครองของไทย เช่น บ้านจงกัลในเขตเขมรปัจจุบัน เคยเป็นอำเภอจงกัลของไทย ขึ้นกับอำเภอสังขะ)
เมื่อ พ.. ๒๓๓๗ พระยาสุรินทรภักดีศรีณรงค์จางวาง (เชียงปุม) เจ้าเมืองสุรินทร์ถึงแก่กรรม
พระยาสุรินทรภักดีศรีณรงค์จางวาง (เชียงปุม) มีบุตร ๔ คน เป็นชาย ๒ คน ชื่อ นายตี (แต็ย) และนายมี (แม็ย) เป็นหญิง ๒ คน ชื่อ นางน้อย นางเงิน เมื่อพระยาสุรินทรภักดีศรีณรงค์จางวาง (เชียงปุม) ถึงแก่กรรม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ ตั้งให้นายตี (แต็ย) บุตรชายคนโตเป็นพระสุรินทรภักดีศรีณรงค์จางวาง เจ้าเมืองสุรินทร์ต่อไป
ในปี พ.. ๒๓๔๒ มีตราโปรดเกล้าฯ ให้เกณฑ์กำลังเมืองสุรินทร์ เมืองสังฆะ และเมืองขุขันธ์ เมืองละ ๑๐๐ รวม ๓๐๐ เข้ากองทัพยกไปตีกองทัพพม่า ซึ่งยกมาตั้งอยู่ในเขตแขวงเมืองนครเชียงใหม่ แต่กองทัพไทยมิทันไปถึงพอได้ข่าวว่ากองทัพถอยไปแล้ว ก็โปรดเกล้าฯ ให้ยกกองทัพกลับและได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนนามพระสุรินทรภักดีศรีณรงค์จางวาง (ตี) เป็น พระสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์
.. ๒๓๕๐ ทรงพระราชดำริว่าเมืองสุรินทร์ เมืองสังฆะ และเมืองขุขันธ์ เป็นเมืองเคยตามเสด็จพระราชดำเนินในการพระราชสงครามหลายครั้ง มีความชอบมาก จึงโปรดเกล้าฯ ให้ทั้ง ๓ เมืองขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ เลยทีเดียว มีอำนาจชำระคดีได้เอง ไม่ต้องขึ้นต่อเมืองพิมายเหมือนแต่ก่อน
.. ๒๓๕๑ พระสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (ตี) เจ้าเมืองสุรินทร์ถึงแก่กรรม จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ หลวงวิเศษราชา (มี หรือแม็ย) ผู้เป็นน้องชายเป็น พระสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ เจ้าเมืองสุรินทร์สืบต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น