สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๓๖๗ - พ.ศ. ๒๓๙๔)



ลำดับนั้น ตั้งแต่เขตแขวงเมืองจำปาศักดิ์ไปจนถึงเมืองเวียงจันทน์อยู่ในอำนาจอนุเวียงจันทน์กับเจ้าโย่ บุตรที่ครองเมืองจำปาศักดิ์ พ่อลูกทั้งสองเห็นว่ามีเขตแขวงและกำลังผู้คนมากขึ้น ก็มีใจกำเริบคิดขบถต่อกรุงเทพฯ เมื่อปี พ
.. ๒๓๖๙ เจ้าอนุแต่งตั้งให้เจ้าอุปราช (สีถาน) กับเจ้าราชวงศ์เมืองเวียงจันทน์คุมกองทัพยกเข้าตีหัวเมืองรายทางเข้ามาจนถึงเมืองนครราชสีมา
ฝ่ายทางเมืองจำปาศักดิ์ เจ้านครจำปาศักดิ์ (โย่) ก็เกณฑ์กำลังยกเป็นกองทัพมาตรีเมืองขุขันธ์แตก จับพระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน (บุญจันทร์) เจ้าเมืองขุขันธ์กับพระภักดีภูธรสงครามปลัด (มานะ) พระแก้วมนตรียกกระบัตร (เทศ) กับกรมการได้ฆ่าเสีย ส่วนเมืองสุรินทร์ เมืองสังฆะ ได้มีการป้องกันรักษาเมืองอย่างเข้มแข็งทั้งกลางวันและกลางคืน และได้เกณฑ์กำลังไพร่พลไปสมทบกับกองทัพหลวงจนเสร็จสงคราม
.. ๒๓๗๒ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนพระสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (สุ่น) เจ้าเมืองสุรินทร์เป็นพระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์
.. ๒๓๗๒ ครั้งนั้นหัวเมืองทางฝ่ายตะวันออกยังไม่เรียบร้อยดี จึงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาบดินทรเดชา ครั้งที่เป็นเจ้าพระยาราชสุภาวดี ออกไปจัดตั้งราชการทำสำมะโนครัว และตั้งกองสักอยู่ ณ กุดไผท (ซึ่งเป็นท้องที่อำเภอศีขรภูมิปัจจุบันนี้)
ในปี พ.. ๒๓๙๔ พระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (สุ่น) เจ้าเมืองสุรินทร์ถึงแก่กรรม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น